ไปจีนจ่ายเงินซื้อของยังไงแบบไหนได้บ้างน้า?
จีนในปัจจุบันมีความล้ำสมัยไปมากมายต่างจากในอดีต ทำให้ผู้คนต่างสนใจที่จะเดินทางไปจีนมากขึ้นรวมไปถึงคนไทยด้วยเช่นกัน ทั้งการไปจีนสำหรับคนไทยเองก็สะดวกมากยิ่งขึ้นเมื่อไม่ต้องขอวีซ่าให้ยุ่งยากแล้ว ไม่ว่าจะไปเที่ยว หรือ ไปเรียนภาษาจีนในหลักสูตรต่างๆ เช่น เรียนหลักสูตรภาษาจีนระยะสั้น หรือซัมเมอร์แคมป์เรียนภาษาจีน แม้กระทั่งเรียนต่อที่จีนในระดับชั้นปีต่างๆ ก็มีน้องๆหลายคนสนใจมากขึ้น แต่น้องๆ หลายคนก็ยังสงสัยและมีความกังวลว่า เอ๋? ที่จีนเค้าจ่ายเงินซื้อของยังไงกันบ้างน้า?
วันนี้ พี่ๆ ดอท จะมาเล่าให้ฟังคะ ว่าการจ่ายเงินที่จีน มีวิธีไหนบ้าง ตามมากันเลยค่ะ…
จ่ายเงินผ่านแอพ
การจ่ายเงินผ่านแอพชำระเงินของจีนเป็นวิธีแรกๆ ของคนจีนที่ใช้จับจ่ายซื้อของกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งแอพที่คนจีนนิยมใช้กันก็จะมี 2 แอพยักษ์ใหญ่ คือ Alipay กับ WeChat payซึ่งเป็นการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือที่ง่ายและสะดวกมากๆ แม้เมื่อก่อนจะไม่นิยมในชาวต่างชาติที่ไปจีนเพราะค่อนข้างยุ่งยาก จำเป็นจะต้องมีบัญชีธนาคารของจีน แต่ปัจจุบันสะดวกมากขึ้นเพราะสามารถผูกบัญชี กับบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตได้แล้ว ช่วยให้เติมเงินเข้าบัญชีได้สะดวกรวดเร็วการใช้งานก็ง่ายมาก ไม่ต่างจากชำระเงินผ่านแอพธนาคารในบ้านเราเลย เพียงสแกน QR Code ก็สามารถชำระเงินได้ทันทีไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร จองโรงแรม จ่ายค่าแท็กซี่ ค่ารถไฟฟ้าใต้ดิน หรือซื้อสินค้าก็สามารถจ่ายผ่านร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ของแอพแสดงอยู่ หรือแม้แต่ร้านค้า street food ก็สามารถจ่ายผ่านแอพได้เช่นกัน
Travel Card
เอาไว้ใช้สำหรับการจ่ายเงินในต่างประเทศ ที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ รูดจ่ายสินค้า/บริการ หรือกดเงินจากตู้ ATM ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
-
แบบ Pre-Paid คือ ต้องเติมเงินก่อนจึงรูดใช้ได้ และสามารถแลกสกุลเงินต่างประเทศเก็บไว้ล่วงหน้าก่อนได้ ลดความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน เติมเงินเข้าไปเท่าไร ก็ใช้เท่านั้น เพื่อช่วยคุมการใช้จ่ายและไม่ปะปนกับเงินฝากในบัญชี
-
แบบเดบิต เป็นบัตรที่ไม่ต้องเติมเงิน แต่จะผูกกับบัญชีธนาคารของเรา เมื่อรูดใช้จ่ายแล้วระบบจะตัดเงินจากในบัญชีของเราเอง
ส่วนค่าธรรมเนียมการใช้บัตร อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินต่างๆก็จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร
ซึ่งปัจจุบันมีหลายธนาคารที่ให้บริการ เช่น KTB Travel Card ธนาคารกรุงไทย, You Trip ธนาคารกสิกรไทย, SCB Planet ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้นคะ
True money
หากใครมีแอพ True Money อยู่แล้ว ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการใช้จ่ายที่จีนได้ ไม่ต้องดาวน์โหลดแอพหรือลงทะเบียนใหม่ เพราะทางTrue money ได้ร่วมมือกับ Alipay เปิดให้บริการสำหรับคนไทยสามารถสแกนจ่ายได้ในทุกร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ Alipay+ แสดงที่ร้านนั้นๆ ซึ่งมีมากกว่า 10 ล้านจุดทั่วประเทศจีนคะครอบคลุมในทุกบริการเลยก็ว่าได้ ทั้งร้านค้า โรงแรม ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต และอื่นๆ อีกมากมายแถม การจ่ายผ่านแอพนี้ ไม่บวกค่าธรรมเนียน ค่าเงินก็ดี ไม่ผันผวนรายวัน สามารถเช็คค่าเงินได้ทุกวัน ซึ่งจะแสดงที่หน้าจอสแกนจ่ายเลย และยังช่วยคำนวณเงินแปลงเงินบาทเป็นเงินหยวนให้อัตโนมัติอีกด้วย สะดวกสุดๆคะ
เงินสด
การจ่ายด้วยเงินสดยังคงใช้กันอยู่ แม้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไรแล้วที่จีน และมีบางร้าน ย้ำค่ะแค่บางร้านเท่านั้นที่ ไม่รับเงินสดเลย แต่การพกเงินสดติดตัวบ้างสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินก็ยังจำเป็นอยู่ค่ะ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ เช่น ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่ดีเอย ระบบค้างเอย สแกนไม่ผ่านเอย ใดๆ เราก็ยังสามารถนำเงินสดที่ติดตัวมาจ่ายแทนได้ หากน้องๆ ที่สะดวกพกเงินสดเพื่อใช้จ่าย ก็ควรจะเตรียมไปให้เพียงพอกับระยะเวลาที่อยู่ที่จีนนะคะ
น้องๆ คงจะหายสงสัยและคลายกังวลกันแล้วนะคะ ว่าหากจะไปจีน จะจ่ายเงินซื้อของนั้นมีวิธีไหนบ้าง สามารถเลือกใช้ตามความคุ้นเคยของแต่ละคน หรือถ้าจะให้ พี่ๆดอท แนะนำ จากที่สังคมจีนเข้าสู่ สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ (Cashless Society) การใช้จ่ายผ่านแอพก็มีข้อดีในเรื่องของความสะดวกสบาย และไร้กังวลกับการที่ต้องพกเงินจำนวนมากเวลาเดินทางหรือท่องเที่ยว แต่ก็ควรจะพกเงินสดติดตัวไว้ด้วยเผื่อฉุกเฉินค่ะ
พี่ๆ ดอท หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้องๆ หลายคนที่กำลังคิดอยากจะไปเที่ยวจีน ไปซัมเมอร์แคมป์ภาษาจีน หรือไปเรียนภาษาที่จีน สามารถเตรียมความพร้อมว่าจะพกเงินแบบไหน เตรียมตัวยังไงก่อนเดินทางนะคะ
ส่วนครั้งหน้าจะเป็นบทความ เรื่องราว หรือเทคนิคอะไรที่น่าสนใจ พี่ๆ ดอท จะนำมาบอกเล่า น้องๆ รอติดตามกันด้วยน้า
สนใจเรียนหลักสูตรภาษาจีนระยะสั้น หรือซัมเมอร์เเคมป์ที่ประเทศจีน สามารถสอบถามพี่ๆ Dot ได้เลย!
ที่มารูป:
รูปที่1 https://today.line.me/th/v2/article/Rjavbq
รูปที่2 https://money.kapook.com/view259401.html
รูปที่3 https://www.thairath.co.th/money/tech_innovation/tech_companies/2727123
รูปที่4 https://th.erch2014.com/finansy/41189-valyuta-rmb-kitayskie-narodnye-dengi.html